วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

อินดิเคเตอร์บอก Trend และแนวรับแนวต้านขั้นเทพ Ichimoku Kinko Hyo

เคยมั๊ยครับ ที่เวลาคุณเทรดหุ้นด้วย MT4 แล้วคุณก็ทดลองเปิดอินดิเคเตอร์ไปเรื่อยๆ ดูว่าตัวไหนเป็นอย่างไร ตัวไหนน่าใช้บ้าง ปรากฏว่า คุณดันไปเจออินดิเคเตอร์ตัวหนึ่ง มีเส้นอะไรก็ไม่รู้ยั้วเยี้ยไปหมด ดูไม่รู้เรื่องเลย ถึงแม้ว่าจะพยายามทำความเข้าใจกับมัน โดยนั่งมองดูมันไปเรื่อยๆ สุดท้ายคุณก็ปิดมันไป โดยที่คิดไว้ในใจว่า “อินดิเคเตอร์อะไรวะดูไม่เห็นจะรู้เรื่องเลยวุ้ย -3- ” แต่ผมจะบอกคุณว่า อินดิเคเตอร์ที่มีหน้าตาไม่ค่อยรับแขกตัวนี้ มีอะไรดีๆ ที่ผมจะพาทุกท่านไปล้วงความลับของอินดิเคเตอร์ตัวนี้ ที่ทำให้คุณได้อึ้ง ทึ่ง และเขียว ไปพร้อมกันครับ ขอเชิญพบกับแขกรับเชิญของเราในวันนี้ได้เลยครับ Ichimoku Kinko Hyo

วิธีการใส่อินดิเคตอร์ตัวนี้ลงไปในกราฟของ MT4 ก็ง่ายๆ ครับ คลิ๊กเพิ่ม อินดิเคเตอร์ เลือก Oscillators > Ichimoku Kinko Hyo
สำหรับการตั้งค่านั้น ในตัวอย่างของผมจะตั้ง Tenkan-sen : 7 , Kijun-sen: 22 , Senkou Span B: 44 จากนั้นเมื่อใส่อินดิเคเตอร์ลงในกราฟแล้ว คุณจะเห็นว่า จะมีเส้นอยู่ 5 เส้น คือ
1. Tenkan-sen 2. Kijun-sen 3. Chinkou Span 4. Senkou Span A 5. Senkou Span B

ผมจะอธิบายวิธีการวิเคราะห์ของแต่ละเส้นก่อน โดยจะมีรูปตัวอย่างให้ดูด้วย จากนั้นค่อยวิเคราะห์รวมทั้ง 5 เส้นกัน

1. Tenkan-sen



เส้นนี้จะทำหน้าที่คล้ายๆ เส้น Fast MA คือเส้น Moving average ที่มี Period น้อย ในหลักการ MA Cross
หลักการวิเคราะห์
เมื่อราคาอยู่ต่ำกว่าเส้น Tenkan-sen และ Tenkan-sen มีความชันเป็นลบ แสดงถึงสภาวะตลาดหมี และเมื่อราคาอยู่สูงกว่าเส้น Tenkan-sen และ Tenkan-sen มีความชันเป็นบวก แสดงถึงสภาวะตลาดกระทิง

2. Kijun-sen




เส้นนี้จะทำหน้าที่คล้ายๆ เส้น Slow MA คือเส้น Moving average ที่มี Period มากกว่า ในหลักการ MA Cross
หลักการวิเคราะห์
เช่นเดียวกับเส้น Tenkan-sen เมื่อราคาอยู่ต่ำกว่าเส้น Kijun-sen และ Kijun-sen มีความชันเป็นลบ แสดงถึงสภาวะตลาดหมี และเมื่อราคาอยู่สูงกว่าเส้น Kijun-sen และ Kijun-sen มีความชันเป็นบวก แสดงถึงสภาวะตลาดกระทิง และในส่วนของเส้น Kijun-sen ที่มีความชันเป็นศูนย์ หรือช่วงที่เส้นขนานกับแนวนอน ในช่วงใดๆ สามารถนำราคาช่วงนั้นมาเป็นแนวรับหรือแนวต้านได้ ยิ่งช่วงที่เส้น Kijun-sen ที่มีความชันเป็นศูนย์ มีความยาวมากเท่าไหร่ แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของแนวรับหรือแนวต้าน ตรงช่วงราคานั้นมากเท่านั้น

เมื่อนำ Tenkan-sen และ Kijun-sen มาอยู่ด้วยกัน




ลักษณะของมันก็จะคล้ายๆ กับใช้ MA สองเส้นเลยทีเดียว จะสังเกตเห็นว่า ราคาจะชนเส้น Kijun-sen ที่มีความชันเป็นศูนย์บ่อยๆ แสดงให้เห็นว่า เส้น Kijun-sen สามารถใช้เป็นแนวรับหรือแนวต้านได้ และเมื่อราคาอยู่ในช่วงระหว่างเส้น Tenkan-sen และ Kijun-sen จะเห็นว่าสภาพตลาดมีลักษณะไซด์เวย์

3. Chinkou Span




สำหรับเส้น Chinkou Span นี้ไม่มีอะไรมากเป็นเพียงเส้น MA 1 ของราคาปัจจุบันที่ถูก shift ไปอยู่ในอดีต เพื่อศึกษาอดีตมาพยากรณ์ปัจจุบัน

หลักการวิเคราะห์
จากรูปจะเห็นว่าเมื่อเส้น Chinkou Span ตัดกราฟราคาในอดีตขึ้น สะภาพตลาดจะอยู่ในตลาดกระทิง ในทางกลับกัน ถ้าเกิด Chinkou Span ตัดกราฟราคาในอดีตลง สะภาพตลาดจะอยู่ในตลาดหมี

4. Senkou Span A + 5. Senkou Span B




สำหรับสองเส้นนี้เราจะใช้คู่กันไป จากที่เห็นในช่วงที่เป็นสีระหว่างทั้งสองเส้นนั้น เราจะเรียกมันว่าเมฆ เจ้าเมฆนี่จะยื่นออกไปข้างหน้าในอนาคตที่ยังไม่เกิด เพื่อทำนายสะภาพตลาดที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต

หลักการวิเคราะห์
เมื่อราคาอยู่เหนือเมฆหมายถึงสะภาพตลาดกระทิง เมื่อราคาอยู่ใต้เมฆหมายถึงสะภาพตลาดหมี และเมื่อราคาอยู่ในเมฆหมายถึงสะภาพตลาดไซด์เวย์ และเราสามารถใช้ เมฆเส้น Senkou Span B ที่มีความชันเป็นศูนย์คือเป็นเส้นตรงในแนวราบ แทนแนวรับแนวต้านได้เช่นเดียวกับ Kijun-sen แต่จะมีนัยสำคัญน้อยกว่าเส้น Kijun-sen
เช่นเดียวกับเส้น Kijun-sen ยิ่งมีความยาวของเส้นในแนวราบมากเท่าไหร่ ความแข็งแกร่งของแนวรับแนวต้านช่วงราคานั้นยิ่งมากขึ้นเท่านั้น จากรูปเมื่อเมฆมีการบีบตัวให้แคบลง เราสามารถคาดการณ์ได้ว่า เทรนปัจจุบันกำลังจะเปลี่ยนแล้ว

เมื่อรู้จักทุกส่วนของ Ichimoku Kinko Hyo กันแล้ว จากนี้ผมจะนำทุกส่วนมาประกอบเข้าด้วยกัน และจากนั้นเราจะมาดูวิธีการเข้าทำกำไรกันครับ




หลักการเขาทำกำไร (วิธีที่ผมใช้)
-เปิด Long Position เมื่อ
ราคาเปิดเหนือเส้น Kijun-sen และเส้น Chinkou Span อยู่เหนือกว่าราคาในอดีต 22 ช่วงจากปัจจุบัน และถ้าเข้าเมื่อราคาปิดเหนือ Kijun-sen ไม่ทัน คุณสามารถ เปิดได้อีกครั้งเมื่อ ราคาเปิดเหนือเส้น Senkou Span B (เมฆ) และเส้น Chinkou Span อยู่เหนือกว่าราคาในอดีต 22 ช่วงจากปัจจุบัน
-เปิด Short Position เมื่อ
ราคาเปิดใต้เส้น Kijun-sen และเส้น Chinkou Span อยู่ใต้ราคาในอดีต 22 ช่วงจากปัจจุบัน และถ้าเข้าเมื่อราคาเปิดใต้ Kijun-sen ไม่ทัน คุณสามารถ เปิดได้อีกครั้งเมื่อ ราคาเปิดใต้เส้น Senkou Span B (เมฆ) และเส้น Chinkou Span อยู่ใต้ราคาในอดีต 22 ช่วงจากปัจจุบัน

สำหรับการตั้ง TP และ SL นั้น เราสามารถใช้แนวรับแนวต้านต่างๆ ที่เส้น Kijun-sen และเส้น Senkou Span B ทำเอาไว้เป็นTP ได้ ส่วน SL นั้นเราต้องตั้ง ให้อยู่เลยแนวรับแนวต้านไปซัก 5-8 จุด เพื่อป้องกันการง้างธนู (ย้อนกลับมาเด้งแนวรับแนวต้านอีกที เพื่อเอาแรงก่อนจะพุ่งด้วยแรงมหาศาล) เพราะว่าชื่อก็บอกว่าแนวรับแนวต้าน ยังไงราคามันก็ต้องมาชนอยู่ดี

เอาล่ะเรามาดูว่าเกิดอะไรขึ้นต่อจากภาพที่ 1 ดีกว่า



จะเห็นว่าเข้าเงื่อนไขการเปิด Long Position ณ จุดที่ผมวงกลมไว้ และ TP กับ SL จะอยู่ ในส่วนที่ผมขีดเส้นไว้ จะเห็นว่าส่วนนั้นเป็นส่วนที่ สองเส้นสำคัญ Kijun-sen และเส้น Senkou Span B ได้มีการสร้างแนวรับแนวต้านเอาไว้ จากระยะครั้งนี้ ถ้าเข้าซื้อคุณสามารถทำกำไรได้ 20 จุด

หวังว่าบทความนี้คงจะมีประโยชน์กับหลายๆ คนนะครับ และต้องขอขอบคุณ kharvell หรือ Kevin แห่ง Forexfactory ที่บทความของเขาเรื่องวิธีใช้ Ichimoku Kinko Hyo นั้นทำให้ผมเขาใจอินดิเคเตอร์ตัวนี้ได้มากขึ้น ต้องบอกว่าถ้าคุณอ่านบทความของเขาได้ จะดีกว่าอ่านบทความนี้ที่ผมเขียนซะอีก เพราะเขาอธิบายละเอียดมาก มีอีกหลายเรื่องที่ผมไม่ได้เขียนไว้ เนื่องจากมันเยอะมากผมจึงอธิบายแค่คล่าวๆ ยังไงซะ แค่นี้ก็อาจจะทำให้หลายๆ คนพอจะเข้าใจอินดิเคเตอร์ตัวนี้ขึ้นมาบ้างล่ะ และขอให้รู้ตัวไว้เลยนะว่า ตอนนี้คุณเทพแล้ว เพราะว่าคุณสามารถเข้าใจอินดิเคเตอร์ขั้นเทพตัวนี้ได้ ฮาฮ่า

ติดต่อขอ indicators ได้ที่ win_dream2009@hotmail.com